วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557

ฎีกา คำวินิจฉัยในเรื่องของกลางตาม ป.วิ.อ.มาตรา 186(9)

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนในเรื่อง คำวินิจฉัยในเรื่องของกลาง
มาตรา 186(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7713/2554
ป.วิ.อ. มาตรา 158, 186(9), 195 วรรคสอง
ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติว่า ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการต่าง ๆ ที่จะต้องมีในคำฟ้องอีกรวม 7 อนุมาตรา แต่มิได้มีเงื่อนไขเกี่ยวกับทรัพย์ที่จะขอให้ศาลสั่งริบว่าจะต้องมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง เมื่อโจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องว่าเจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พร้อมกับยึดเครื่องสูบน้ำเป็นของกลางและมีคำขอให้ริบเครื่องสูบน้ำดังกล่าวจึงเป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าเป็นของผู้ใดและใช้ในการกระทำความผิดอย่างไร

เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบเครื่องสูบน้ำของกลางแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าจะริบเครื่องสูบน้ำของกลางหรือไม่ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และการริบทรัพย์สินแม้ ป.อ. มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญต่างกับโทษสถานอื่นซึ่งแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำความผิดหรือกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ศาลก็มีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางได้ จึงมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมมีอำนาจสั่งริบของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7246/2554
ป.วิ.อ. มาตรา 186
โจทก์มีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยยกคำขอของโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องการริบของกลางย่อมยุติต้องคืนของกลางแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 215 และ 225 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้ริบของกลางจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีคำสั่งแก้ไขให้ถูกต้องโดยให้คืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่เจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6356/2552
ป.วิ.อ. มาตรา 186

โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ายึดไฟแช็กแก๊สได้ในที่เกิดเหตุไฟแช็กแก๊สจึงไม่ใช่ของกลางที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องและมีคำขอให้ศาลวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้คืนไฟแช็กแก๊สแก่เจ้าของเป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากคำฟ้องอันเป็นการไม่ชอบ

ฎีกา ศาลยกฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง ศาลยกฟ้อง
มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4177/2555
ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง, 185 วรรคหนึ่ง
แม้จำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์สืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนดังกล่าวมาเป็นของกลาง และโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่าอาวุธปืนดังกล่าวเป็นอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ ทั้งมิได้นำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนดังที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตชอบแล้ว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3223/2554
ป.วิ.อ. มาตรา 185, 218

ความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองและฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 แต่เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่พอรับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและไม่ปรากฏว่ายึดอาวุธปืนได้จากจำเลยเป็นของกลาง ศาลฎีกาจึงต้องพิพาทกลับให้ยกฟ้องในความผิดดังกล่าวด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225


ฎีกา การรับสารภาพในชั้นพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง การรับสารภาพในชั้นพิจารณา
มาตรา 176

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  14552/2555
ป.วิ.อ. มาตรา 176
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยมีและใช้อาวุธปืน มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์คงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำให้การรับสารภาพเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ฟ้อง และศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ แต่ในกรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องนำสืบให้ได้ความชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยดังเช่นคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ เพียงมีพยานมาสืบให้เป็นที่พอใจศาลว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามคำรับ ก็เป็นการเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยโดยอาศัยพยานหลักฐานนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  14526/2555
ป.วิ.อ. มาตรา 176, 226/3, 227/1
ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนและพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ ศาลจึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องตามคำรับสารภาพ ฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่ได้กระทำความผิดจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นใหม่และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เพิ่งมายกขึ้นว่ากันในศาลฎีกา จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4177/2555
ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง, 185 วรรคหนึ่ง
แม้จำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์สืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนดังกล่าวมาเป็นของกลาง และโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่าอาวุธปืนดังกล่าวเป็นอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ ทั้งมิได้นำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนดังที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2045/2553
ป.วิ.อ. มาตรา 176, 208
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 240, 244 และ 341 โดยความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240 ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท จึงเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หากจำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 เมื่อปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์และจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงให้รอฟังคำพิพากษาและได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยฟังในวันนั้นเองโดยโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าว ซึ่งหากโจทก์เห็นว่าการที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้วโจทก์จะต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240 ดังกล่าว โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานโจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน โจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลรับฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชอบแล้ว คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208


สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 244 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามหมื่นบาท และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดในสองมาตราดังกล่าวไม่ใช่คดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย และศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อน หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพ ศาลก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ดังนั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นย่อมฟังว่าจำเลยกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 244 และมาตรา 341 ตามฟ้องได้โดยไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดสองมาตราดังกล่าวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้


ฎีกา การตั้งทนายความตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง การตั้งทนายความ
มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3133/2551
ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 3,800 เม็ด น้ำหนัก 382.810 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ ได้ 28.483 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย กรณีจึงต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสาม อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นคนละกรณีกับวรรคสองของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ที่ศาลต้องสอบถามด้วยว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ ดังนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่มีทนายความ ศาลก็ต้องตั้งทนายความให้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความคุ้มครองแก่จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตในการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ แต่คดีนี้ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฉบับลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2549 ท้ายคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าศาลชั้นต้นสอบจำเลยเรื่องทนายความแล้ว แต่จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ดังนี้ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบถามจำเลยเรื่องทนายความโดยไม่ตั้งทนายความให้จำเลย แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไปจนเสร็จ แม้ต่อมาจำเลยจะได้แต่งทนายความเข้ามา แต่ก็เป็นการแต่งทนายความเข้ามาในภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์จนเสร็จสิ้นแล้ว ดังนั้น ขณะที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์ในคดีนี้ จำเลยยังไม่มีทนายความคอยช่วยเหลือในการดำเนินคดี อันเป็นกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  344/2549
ป.วิ.อ. มาตรา 173
โจทก์ฟ้องคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในการพิจารณาคดีก่อนถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพื่อพิจารณาพิพากษา ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4460/2546
ป.วิ.อ. มาตรา 173, 208

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 มีเจตนารมณ์เพื่อเปิดโอกาสให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่เมื่อข้อหาที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ต้องสอบถามจำเลยเกี่ยวกับทนายความเสียก่อนตามมาตรา 173 จะด่วนไปสอบถามคำให้การจำเลยโดยจำเลยยังไม่มีทนายความไม่มีผูกพันจำเลย ต้องถือเสมือนว่าจำเลยยังมิได้ให้การตามที่ศาลสอบถามและบันทึกไว้ อย่างไรก็ดี แม้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในเรื่องดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ปรากฏว่าในวันสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยได้แต่งทนายความเข้ามาว่าต่างให้ ทนายความของจำเลยยังแก้ต่างให้ทุกนัดจนเสร็จคดี กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตามมาตรา 208(2)


ฎีกา โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดหรือโจทก์ขาดนัดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 166

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดหรือโจทก์ขาดนัด
มาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9280/2551
ป.วิ.อ. มาตรา 15, 166 วรรคสอง, 220
คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์แต่ประการใด จะนำบทบัญญัติมาตรา 220 แห่ง ป.วิ.อ. มาบังคับแก่กรณีเช่นนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3736/2551
ป.วิ.อ. มาตรา 166
ผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181 ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้อง และผู้ร้องมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องทราบนัดแล้วไม่มาศาลถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาศาลและให้ยกคำร้องจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะยกคำร้องของผู้ร้องโดยถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ ก็ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3736/2551
ป.วิ.อ. มาตรา 166
ผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181 ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้อง และผู้ร้องมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องทราบนัดแล้วไม่มาศาลถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาศาลและให้ยกคำร้องจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะยกคำร้องของผู้ร้องโดยถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ ก็ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1751/2548
ป.วิ.อ. มาตรา 166, 220
ป.วิ.อ. มาตรา 220 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มาศาลตาม ป.วิ.อ. มาตา 166 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  724/2548
ป.วิ.อ. มาตรา 166
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานนัดต่อมาเพราะสำคัญผิดเนื่องจากจำวันนัดผิด เป็นเรื่องความบกพร่องหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นความผิดพลาดของทนายโจทก์เองที่จำวันนัดคลาดเคลื่อน ถือไม่ได้ว่ามีเหตุผลสมควรเพียงพอที่จะอนุญาตให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4625/2545
ป.วิ.อ. มาตรา 166, 181
แม้ตามคำร้องของโจทก์จะเป็นเรื่องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่คำร้องก็ได้กล่าวอ้างถึงเหตุที่การพิจารณาผิดระเบียบว่าเกิดจากการส่งหมายนัดของเจ้าพนักงานศาลไม่ชอบ ไม่อาจถือว่าโจทก์ได้ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ จึงขอให้ศาลกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ใหม่ ซึ่งแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะแสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควร จึงมาศาลไม่ได้ และขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181และการที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยโจทก์ไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องร้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5985/2550
ป.วิ.อ. มาตรา 166, 196, 225

หลังจากสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ดังนี้ คำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ทำให้คดีเสร็จไปจากศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 225 จำเลยจึงฎีกาคำสั่งดังกล่าวได้


ฎีกา การสอบสวนผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/1

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง การสอบสวนผู้ต้องหา
มาตรา 134/1


คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7703/2554
ป.วิ.อ. มาตรา 134/1, 134/4 วรรคท้าย
คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 เมื่อพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทนายความให้จำเลยที่ 2 อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 134/1 ถ้อยคำใดๆ ที่จำเลยที่ 2 ให้ไว้ในชั้นสอบสวน ย่อมจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ ตามมาตรา 134/4 วรรคท้าย ดังนี้ จึงไม่อาจฟังคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ที่ให้การว่าขณะจำเลยที่ 1 ตรวจนับเมทแอมเฟตามีนในห้องพัก จำเลยที่ 2 อยู่ด้วย มารับฟังเป็นพยานหลักฐานโจทก์เพื่อลงโทษจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7703/2554
ป.วิ.อ. มาตรา 134/1, 134/4 วรรคท้าย

คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 เมื่อพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทนายความให้จำเลยที่ 2 อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 134/1 ถ้อยคำใดๆ ที่จำเลยที่ 2 ให้ไว้ในชั้นสอบสวน ย่อมจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ ตามมาตรา 134/4 วรรคท้าย ดังนี้ จึงไม่อาจฟังคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ที่ให้การว่าขณะจำเลยที่ 1 ตรวจนับเมทแอมเฟตามีนในห้องพัก จำเลยที่ 2 อยู่ด้วย มารับฟังเป็นพยานหลักฐานโจทก์เพื่อลงโทษจำเลยที่ 2 ได้


ฎีกา การถามปากคำเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 133 ทวิ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง การถามปากคำเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี
มาตรา 133 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7060/2554
ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง, 134 ตรี
การสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปี ที่ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 134 ตรี ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะมีการสอบสวนคดีนี้ มี 3 ประเภท ได้แก่ คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไป คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปีซึ่งผู้ต้องหาที่เป็นเด็กร้องขอ และคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึง 3 ปี เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาร้องขอต่อพนักงานสอบสวนให้มีบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมในการถามปากคำ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9071/2553
ป.วิ.อ. มาตรา 120, 133 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคท้าย

ขณะที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำเด็กชาย ศ. ซึ่งมีอายุ 12 ปี และให้ชี้ภาพถ่ายซึ่งกระทำเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 นั้น ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ และมาตรา 133 ตรี ซึ่งเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 20)ฯ และต่อมาเฉพาะมาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง กับมาตรา 133 ตรี แก้ไขโดยมาตรา 5 และ 6 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 26)ฯ ยังมิได้ใช้บังคับ ดังนี้การถามปากคำเด็กชาย ศ. และชี้ภาพถ่ายคนร้าย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 ของพนักงานสอบสวนโดยมิได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำจึงเป็นไปโดยชอบ ส่วนการชี้ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ก็เป็นเพียงการชี้ภาพถ่ายในลักษณะของการสอบสวนเพิ่มเติม มิใช่เป็นการชี้ตัวผู้ต้องหาแต่อย่างใด และแม้พนักงานสอบสวนมิได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ทั้งไม่เข้าเหตุจำเป็นเร่งด่วนตาม 133 ทวิ วรรคท้าย ก็ตาม คงมีผลเพียงทำให้คำให้การและการชี้ภาพถ่ายในชั้นสอบสวนของเด็กชาย ศ. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้เท่านั้น หาเป็นเหตุให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดไม่ จึงถือได้ว่ามีการสอบสวนโดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 120

วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

ฎีกา การแจ้งข้อหาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง การแจ้งข้อหา
มาตรา 134

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4559/2555
ป.วิ.อ. มาตรา 120, 134
ผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย โดยเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้พนักงานสอบสวนฟัง พนักงานสอบสวนจะต้องเป็นผู้ที่คิดตั้งข้อหาขึ้นเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการรับแจ้งความ ครั้งแรกพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหากระทำอนาจารและทำร้ายร่างกาย แต่เมื่อพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่อไปรวมทั้งสอบปากคำผู้เสียหายแล้ว เห็นว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดในข้อหากรรโชกอีกในคราวเดียวกันด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่ผู้ต้องหาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  15274/2553
ป.วิ.อ. มาตรา 134, 192
การที่ ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้พนักงานสอบสวน แจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบก็เพื่อที่ผู้ต้องหาจะได้ทราบว่าตนถูกกล่าวหาหรือแจ้งข้อหาว่ากระทำผิดในข้อหาอะไร จะได้สามารถให้การแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้อง แต่การแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่หากพนักงานสอบสวนปฏิบัติผิดพลาดหรือบกพร่องแล้วจะทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามบันทึกคำให้การว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุจำเลยได้ใช้ปืนยิงแมวของผู้กล่าวหาที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเข้าไปในบ้านจำเลยและเจ้าพนักงานตำรวจได้ร่วมกันจับกุมจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและมีข้อความต่อไปที่แสดงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ถือได้ว่ามีการแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  256/2553
ป.วิ.อ. มาตรา 120, 134
การสอบสวนเป็นเพียงการที่พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายตามที่กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ การแจ้งข้อหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นั้นเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวน เพื่อให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าจะถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดเท่านั้น ดังนั้น แม้เดิมจะแจ้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนไปแล้วปรากฏว่า การกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานอื่นก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวมาแล้วแต่แรก ฉะนั้น เมื่อคดีนี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจะแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก ฐานร่วมกันกรรโชกทรัพย์ แต่เมื่อโจทก์เห็นว่าพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกเข้าองค์ประกอบความผิดร่วมกันปล้นทรัพย์โจทก์ก็มีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก ในความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1816/2552
ป.วิ.อ. มาตรา 120, 134

การแจ้งข้อหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวนเพื่อต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนจะถูกสอบสวนในความผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมจะแจ้งข้อหาว่ากระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ 2 วัน แต่เมื่อสอบสวนไปแล้วปรากฏว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดอีก 2 วัน ซึ่งเป็นความผิดฐานเดียวกันแต่เพิ่มอีก 2 กระทง ก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120


วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

ฎีกา ฟ้องแย้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง ฟ้องแย้ง
มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5258/2555
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม, 225 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม บัญญัติว่า จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ อันเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะฟ้องกลับโจทก์ได้ในคดีเดียวกัน กรณีดังกล่าวจึงต้องมีส่วนคำให้การแก้ข้อกล่าวหาของจำเลยเป็นเบื้องต้น กับส่วนที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ ซึ่งเมื่อจำเลยขอถอนฟ้องแย้งโดยมิได้ขอถอนคำให้การด้วย ก็มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องแย้งเท่านั้น มิได้ทำให้คำให้การของจำเลยสิ้นไปด้วยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2504/2554
ป.วิ.พ. มาตรา 177
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นชู้กับจำเลยที่ 2 พร้อมเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสิ้นสุดแห่งการสมรส ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่า โจทก์เอาความเท็จมาฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริต การที่โจทก์ไปร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย หากคณะกรรมการหลงเชื่อจะทำให้จำเลยที่ 2 ถูกออกจากงานและเสื่อมเสียชื่อเสียง ขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายนั้น เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งไม่ได้อาศัยเหตุแห่งการหย่าและเรียกค่าทดแทนตามฟ้องเดิมเป็นมูลหนี้ เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9174/2552
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
เทศบาลตำบลโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ค่าภาษีตามกฎหมายสำหรับโรงเรือนและที่ดิน ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าจากโจทก์ตามมูลหนี้สัญญาเช่าอาคารพิพาท ซึ่งการที่โจทก์ผู้เช่าจะผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อความรับผิดในมูลหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคนละส่วนและมาจากคนละมูลหนี้ไม่เกี่ยวข้องกันฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2686/2548
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
ขณะที่ประเด็นเรื่องฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะมีหนังสือแจ้งมาให้ศาลฎีกาทราบว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยทั้งสามและจำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความไปแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้ปัญหาตามฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามตกไปด้วย ศาลฎีกาจึงพิจารณาฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6909/2543
ป.วิ.พ. มาตรา 175, 176, 177 วรรคสาม

เมื่อจำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2548
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมตึกแถว จำเลยเข้ามาอยู่อาศัยในตึกแถวโดยโจทก์ไม่ได้อนุญาต เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์กับผู้มีชื่อได้ร่วมกันข่มขู่ให้จำเลยออกจากที่ดินและให้นำเงินไปชำระแก่โจทก์ โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลในคดีที่โจทก์กับ ป. ถูก ส. ยื่นฟ้องเป็นจำเลยและศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้โจทก์โอนหุ้นรวมทั้งห้ามทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ จ. การกระทำของโจทก์เป็นการละเมิดและรอนสิทธิการเช่าของจำเลย ทำให้จำเลยไม่สามารถครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินรวมทั้งต้องว่าจ้างทนายความมาดำเนินการแก้ต่าง ขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำละเมิดอันเป็นเรื่องอื่นซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 179 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2534
 ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
เมื่อฟ้องเดิมของโจทก์ถูกยกฟ้องเสียแล้ว ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไปด้วย จึงไม่มีคำฟ้องใดที่ศาลอีก จำเลยอุทธรณ์เฉพาะฟ้องแย้งไม่ได้ เพราะฟ้องโจทก์ถูกยกเสียแล้ว ศาลก็ต้องยกอุทธรณ์ของจำเลยเสีย ดังนี้ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2534
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
แม้หากศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจนเสร็จสำนวนจะต้องพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่ถูกต้องก็ตาม แต่การพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยเหตุดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับประเด็นในเนื้อหาแห่งคดี จึงไม่เป็นการต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีก ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จึงหามีผลทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีไม่และเมื่อการอนุญาตให้ถอนฟ้องมีเหตุอันสมควร ฟ้องแย้งย่อมตกไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4876/2533
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และศาลพิพากษายกฟ้องแล้วฟ้องแย้งย่อมต้องตกไปเพราะการฟ้องแย้งนั้นจะมีได้ต้องมีฟ้องเดิมและตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ด้วย.




ฎีกา ถอนฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง ถอนฟ้อง
มาตรา 175

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6787/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 175, 176
ป.วิ.พ. มาตรา 175 ไม่ได้ห้ามโจทก์ถอนฟ้องหลังจากชี้สองสถาน โดยบังคับศาลเพียงว่า ห้ามไม่ให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อน ดังนั้น แม้โจทก์ขอถอนฟ้องหลังจากชี้สองสถานและจำเลยทั้งสองคัดค้านก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้และ ป.วิ.พ. มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามโจทก์ที่ถอนฟ้องยื่นฟ้องใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ศาลจึงไม่อาจนำข้อที่โจทก์อ้างไปแก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องแล้วยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเข้ามาเป็นคดีใหม่เป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนฟ้องได้ด้วย ทั้งคดีนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีการนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้อีกฝ่ายเห็นข้อเท็จจริงที่เป็นการสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องและข้อเถียงตามคำให้การของฝ่ายตนแต่อย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าการถอนฟ้องของโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5290/2551
ป.วิ.พ. มาตรา 175(1) วรรคสอง
การถอนคำฟ้องภายหลังจำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง (1) บัญญัติให้โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนี้ แม้โจทก์ได้โอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่มีต่อจำเลยทั้งสามในคดีนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ไปแล้วในระหว่างดำเนินคดีนี้ดังที่จำเลยที่ 3 อ้างก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ โจทก์ยังคงมีสถานะเป็นคู่ความในคดีเช่นเดิมและมีอำนาจดำเนินคดีเพื่อขอให้รับรอง คุ้มครอง บังคับตามสิทธิของตน โจทก์จึงมีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  903/2547
ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นอำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจ แม้จำเลยจะคัดค้าน แต่หากศาลเห็นว่าการถอนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี ศาลก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และในกรณีที่ฟ้องผิดศาลหากศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษายกฟ้องเพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาล โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยใหม่ยังศาลที่คดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจได้ ดังนั้น การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะเหตุฟ้องผิดศาล แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีไว้ จึงมิได้ทำให้จำเลยเสียหายแต่ประการใด ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์ถอนฟ้องก็เพื่อจะไปดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ ตามที่จำเลยให้การ โดยเฉพาะเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ เมื่อคดีนี้ยังไม่มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยจึงยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายใด หากโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่เช่นเดิม จึงหาทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5124/2545
ป.วิ.พ. มาตรา 175

สาระสำคัญของการขอถอนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคสอง(1) อยู่ที่ว่าเมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ต้องสอบถามจำเลยก่อนเท่านั้น เมื่อสอบถามจำเลยแล้ว ศาลจะอนุญาตหรือไม่เป็นดุลพินิจโดยศาลต้องคำนึงถึงความสุจริตของโจทก์หรือการเอารัดเอาเปรียบในคดีเป็นสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ได้ขายสิทธิการเช่าซื้อให้แก่บริษัท บ. ไปแล้ว ทั้งได้รับอนุมัติจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินให้ถอนฟ้องคดีนี้ได้ จึงเป็นการเชื่อว่าตนหมดอำนาจในการดำเนินคดีต่อไป ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามปกติที่มีอยู่ มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จำเลยจะคัดค้านแต่ก็มิได้ให้เหตุผลอย่างใดไว้ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจึงชอบแล้ว

ฎีกา ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง ทิ้งฟ้อง
มาตรา 174

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2955/2554
ป.วิ.พ. มาตรา 64, 174(2), 235, 246, 247
ทนายผู้ร้องทำใบมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกา นำหมายและรับทราบคำสั่ง ปรากฏว่า เสมียนทนายผู้ร้องได้นำฎีกาของผู้ร้องมายื่นต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 13 มิถุนายน 2551 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาฎีกาให้ผู้คัดค้านภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฎีกา และในฎีกาดังกล่าวมีข้อความประทับไว้ว่า ข้าพเจ้าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วเมื่อเสมียนทนายผู้ร้องลงลายมือชื่อไว้ใต้ข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าทนายผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งในฎีกาของผู้ร้องแล้วตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2551 และถือว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นด้วย เมื่อผู้ร้องเพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  414/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 132(1), 174(2)
ในกรณีที่โจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) แต่บทบัญญัติมาตรา 132 (1) นี้มิได้บังคับเด็ดขาดว่า ศาลต้องจำหน่ายคดีทุกกรณี แต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่จำหน่ายคดีแล้วกำหนดเวลาให้โจทก์นำเงินมาเสียค่าขึ้นศาลใหม่ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  381/2552
ป.วิ.พ. มาตรา 67, 174(2)
เดิมขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 37 ต่อมาในปี 2540 โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ต่อมาในปี 2545 จำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 43 การติดต่อยื่นคำร้องและคำแถลงต่อศาลหลังจากนั้นจำเลยระบุภูมิลำเนาคือบ้านเลขที่ 43 ทั้งสิ้น การที่ต่อมาเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และแจ้งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องได้กระทำในเดือนมกราคม 2550 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเกือบ 10 ปี เจ้าพนักงานศาลน่าจะตรวจสอบที่อยู่ของจำเลยในสายงานว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และแจ้งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยปิดหมายตามภูมิลำเนาเดิมคือบ้านเลขที่ 37 ซึ่งจำเลยย้ายที่อยู่ออกไปแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมายโดยชอบและถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบนัดแล้ว การที่จำเลยมิได้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลเพิ่มตามนัด จึงไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1869/2550
ป.วิ.พ. มาตรา 132(1), 174(2), 246
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่า รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์และผู้ซื้อทรัพย์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ และในอุทธรณ์ดังกล่าวมีข้อความประทับว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้น ถือว่าทราบคำสั่งแล้วโดยทนายจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ใต้ข้อความดังกล่าวจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งแล้ว และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 1 จะเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้วก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลผู้ส่งหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารอจำเลยที่ 1 แถลง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่นำส่งเองแต่ให้เจ้าหน้าที่ศาลไปนำส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า รอจำเลยที่ 1 แถลง โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 แถลงและไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบอีก ก็ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 มิได้แถลงต่อศาลว่าจะดำเนินการอย่างไร รวมระยะเวลาเกือบ 2 เดือน จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ซื้อทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1)


ส่วนการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์นั้น เป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้เป็นผู้ส่ง เมื่อส่งไม่ได้และศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไปจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)

ฎีกา คู่ความร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง คู่ความร่วม
มาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7685/2552
ป.วิ.พ. มาตรา 59(1), 249 วรรคหนึ่ง
การที่คู่ความร่วมคนหนึ่งขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคู่ความร่วมคนนั้น ไม่มีผลไปถึงคู่ความร่วมคนอื่นที่มิได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ด้วย กรณีมิใช่เรื่องที่จะนำมาตรา 59 (1) แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับได้การที่โจทก์ที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียงคนเดียว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต ดังนั้นที่โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันภายในระยะเวลาดังกล่าวโดยโจทก์ที่ 2 มิได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่ 2 ด้วย เป็นการไม่ชอบและที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ต้องถือว่าคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5689/2552
ป.วิ.พ. มาตรา 59(1), 248
โจทก์ผู้เป็นทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกดังกล่าวเสียภายในกำหนด 1 ปี จากจำเลยที่ 1 ผู้ครอบครองแต่เพียงผู้เดียวในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ทรัพย์ในส่วนมรดกนั้นย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 1 ทายาทผู้ครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 ขายทรัพย์ซึ่งรวมส่วนมรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ย่อมใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้เป็นทายาทอื่นได้ด้วยแม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ย่อมถือว่าการยกอายุความเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 เป็นการทำแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนี้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3252/2548
ป.วิ.พ. มาตรา 59
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 109 ฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ ของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงกับฝ่ายจำเลยว่า จำเลยทั้งหกจะจ่ายเงินสงเคราะห์ศพให้แก่สมาชิกที่เสียชีวิต แต่ปรากฏว่าเมื่อมีสมาชิกเสียชีวิตและมีการไปขอรับเงินสงเคราะห์ศพเพื่อจัดการศพได้รับแจ้งจากจำเลยทั้งหกว่าไม่มีเงินจ่ายสงเคราะห์ศพ และอ้างว่าสมาชิกทุกคนลาออกหมดแล้วซึ่งความจริงสมาชิกยังมิได้ลาออก และไม่ได้กระทำผิดระเบียบจนกระทั่งมีการแจ้งความร้องทุกข์และพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกงประชาชนกับจำเลยทั้งหก โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าจึงทราบว่าจำเลยทั้งหกกระทำผิดข้อตกลงและสัญญาและเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาโดยปริยาย จำเลยทั้งหกจึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าตามทุนทรัพย์ที่ได้ชำระหรือชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าได้ชำระแก่จำเลยทั้งหก ถือได้ว่าโจทก์แต่ละคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 วรรคหนึ่ง จึงร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกมาในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5565/2545
ป.วิ.พ. มาตรา 59
โจทก์แต่ละคนต่างเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ เมื่อโจทก์แต่ละคนอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 เก็บเงินจากสมาชิกไปแล้วไม่นำเงินไปชำระแก่ผู้รับประโยชน์ของสมาชิกที่ถึงแก่ความตายอันเป็นการผิดสัญญา ขอให้คืนเงินที่สมาชิกถึงแก่ความตายไปแล้วและสมาชิกที่มีชีวิตอยู่ได้ชำระไปแล้วแก่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกแต่ละคน ถือว่าโจทก์แต่ละคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีโจทก์แต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2667/2544
ป.วิ.พ. มาตรา 59

โจทก์ที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่ ช. ขับไปชนรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ไว้กับจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงร่วมกันฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตามกรมธรรม์ประกันภัยเนื่องจากรถยนต์คันที่โจทก์ที่ 1 เอาประกันภัยไว้และรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 เสียหาย โจทก์ทั้งสองจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี กระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยโจทก์ที่ 1ถือว่าได้ทำโดยโจทก์ที่ 2 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1)

ฎีกา อำนาจฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง  อำนาจฟ้อง
มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  17093/2555
ป.วิ.พ. มาตรา 55
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในฐานะจำเลยเป็นผู้ขาย อันเป็นการฟ้องให้รับผิดตามสัญญาซื้อขาย เมื่อโจทก์โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ทำไว้กับจำเลยให้แก่ ข. ต่อมา ข. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลยและจดทะเบียนรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาแล้ว ข. จึงเป็นคู่สัญญากับจำเลย โจทก์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลย แม้โจทก์จะได้รับการให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ข. ก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะให้ ไม่มีบทบัญญัติว่าผู้รับต้องรับสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของผู้ให้ไปด้วย ซึ่งต่างจากกรณีทายาทรับมรดกที่จะเป็นผู้สืบสิทธิได้ สิทธิที่จะฟ้องบังคับให้รับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตามสัญญาซื้อขายเป็นบุคคลสิทธิบังคับได้ระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  15551/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 55
ที่ดินพิพาทที่ซื้อขายกันเป็นที่ดินมือเปล่า (ภ.บ.ท.5) เจ้าของที่ดินมีเพียงสิทธิครอบครอง เมื่อตามสัญญาระบุว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ชำระราคาแก่จำเลยทั้งสองแล้วในวันทำสัญญา โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่มีหน้าที่ใดๆ ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาอีก ดังนั้น การที่โจทก์จะเข้าทำการรังวัดแนวเขตที่ดินเพื่อครอบครองทำประโยชน์ จึงไม่ใช่ข้อผูกพันอันเกี่ยวเนื่องจากสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท การที่จำเลยทั้งสองคัดค้านและขัดขวางไม่ยอมให้โจทก์ทำการรังวัด จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองไปทำการวัดแนวเขตที่ดินพิพาท หรือให้คืนเงินค่าซื้อที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  12497/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 55
โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยการครอบครอง มิใช่ได้มาโดยนิติกรรมจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ส่งมอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  10545/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 55, 142(5), 188(1), 246, 247
 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) บุคคลใดต้องใช้สิทธิทางศาลจะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ แต่กรณีคำร้องขอของผู้ร้องการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติรับรองให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาล ปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  10267/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 55

แม้โจทก์จะเป็นบิดา ณ. เจ้าของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ และเป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุ และไม่มีกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุจะต้องรับผิดต่อ ณ. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเหตุละเมิดดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่เกี่ยวกับตัวรถโดยตรงจากจำเลย นอกจากนี้ ณ. เป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุขับไปเรียนหนังสือ จึงเป็นสิทธิของ ณ. ที่จะฟ้องเรียกค่าพาหนะดังกล่าวมิใช่โจทก์ แม้โจทก์จะเป็นผู้จ่ายค่าพาหนะให้แก่ ณ. ก็ตามโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยเช่นเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

ฎีกา การบังคับดคีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง การบังคับดคี
มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5502/2555
ป.วิ.พ. มาตรา 271, 309 ตรี
โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา การที่ผู้ซื้อทรัพย์ดำเนินการบังคับคดีต่อเนื่องจากโจทก์ จึงไม่ต้องยื่นคำขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติไว้

ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี บัญญัติว่า เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ หากทรัพย์สินที่โอนนั้นมีลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารอาศัยอยู่ และลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ยอมออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ซื้อทรัพย์ชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ให้ออกคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด แต่ไม่น้อยกว่าสามสิบวัน...คดีนี้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์พิพาทจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิยื่นคำขอต่อศาลให้ออกคำบังคับให้จำเลยที่ 3 และบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์พิพาท โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่อันเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6724/2554
ป.วิ.พ. มาตรา 271, 309 ตรี
กรณีที่โจทก์ในฐานะผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ร้องขอให้ศาลออกคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี เป็นการใช้สิทธิบังคับคดีของผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นขั้นตอนการบังคับคดีภายหลังจากโจทก์ฝ่ายชนะคดีได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยฝ่ายแพ้คดีภายในระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แล้ว จึงมิใช่กรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาและมิใช่การใช้สิทธิของโจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามาบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลย จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีที่ให้นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 271 มาบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6862/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 271
บุคคลที่มีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกที่อ้างว่าได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยไม่ใช่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีตามคำพิพากษา จึงไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีได้ นอกจากนี้การที่จะเข้าสวมสิทธิแทนคู่ความหรือบุคคลที่เป็นฝ่ายชนะคดีนั้นต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายให้เข้าสวมสิทธิแทนได้ เช่น พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 เป็นต้น ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้เข้าสวมสิทธิแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3700/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 271, 295(3)
การบังคับคดีย่อมอาศัยคำพิพากษาเป็นหลัก และการแปลคำพิพากษาต้องพิเคราะห์เกี่ยวกับข้อวินิจฉัยในคำพิพากษา เมื่อคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังคงเป็นของโจทก์ จำเลยไม่อาจขอให้ขับไล่โจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายได้ จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีขับไล่โจทก์และบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทพร้อมยึดทรัพย์สินของโจทก์ออกขายทอดตลาด ก็เพื่อบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งพิพากษาบังคับไปตามฟ้องแย้งจำเลย เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องแย้งจำเลยเท่ากับคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดี และเมื่อศาลยังไม่ส่งคำสั่งถอนการบังคับคดีให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3) โจทก์ผู้ถูกบังคับย่อมร้องขอต่อศาลเพื่อให้ส่งคำสั่งดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามคำพิพากษาศาลฎีกาเพื่อให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงเป็นการส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการถอนการบังคับคดีโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6485/2552
ป.วิ.พ. มาตรา 271
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความวันที่ 21 มิถุนายน 2539 และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2542 โดยโจทก์มีสำเนาคำแถลง สำเนาคำขอยึดทรัพย์และสำเนาหนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีลงลายมือชื่อรับรองถูกต้องแสดงให้เห็นว่า หลังจากศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบและแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 7959 ซึ่งเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2542 อันเป็นการดำเนินคดีตามขั้นตอนในการขอให้บังคับคดีครบถ้วนภายใน 10 ปี นับแต่มีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แล้ว แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปทำการยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 ซึ่งเกินกำหนด 10 ปี นับแต่มีคำพิพากษาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็สิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์ที่ยึดไว้ให้เสร็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3325/2552
ป.วิ.พ. มาตรา 23, 271
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึงวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3214/2550
ป.วิ.พ. มาตรา 271
จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลที่ให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่จำเลยต่อเติมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจยกเอาความเสียหายที่จะต้องได้รับมาปฏิเสธความรับผิดของจำเลยในอันที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1871/2550
ป.วิ.พ. มาตรา 23, 271, 287

โจทก์เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิร้องขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งออกหมายบังคับคดีให้เอาเงินที่ได้มาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องคำนึงว่ามีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นยึดทรัพย์จำนองไว้แล้วหรือไม่ และไม่เป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิในฐานะผู้รับจำนอง เพราะการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับคดีเหนือทรัพย์นั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 และการไม่บังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 271 ก็ไม่เป็นเหตุให้หนี้จำนองระงับสิ้นไป ลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดตามทรัพย์ที่จำนอง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะขยายระยะเวลาบังคับคดีให้ตามคำร้องของโจทก์


ฎีกา คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
มาตรา 236

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  11519/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกา ไม่ใช่กรณีศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8584/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 236
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบอย่างไรก็ตาม ต่อมาจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์พ้นกำหนด 15 วัน ไม่ชอบด้วยมาตรา 234 จึงไม่รับวินิจฉัย ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย จึงมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6582/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 229, 236 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 จะต้องยื่นอุทธรณ์
คัดค้านคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันทราบคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนไปแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์คำสั่วงไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเกิน 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ย่อมมีผลเท่ากับไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์นี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9388/2552
ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งข้างต้น เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นที่สุดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยต่อมาจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6909/2552
ป.วิ.พ. มาตรา 236
ผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้อง เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องที่ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกิน 7 วัน นับแต่วันศาลชั้นต้นมีคำสั่ง โดยอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 156 คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 คู่ความจะฎีกาต่อไปอีกไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องมาจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4659/2552
ป.วิ.พ. มาตรา 229, 236
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางภายในกำหนด จึงไม่รับอุทธรณ์จำเลย จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้สืบพยานใหม่เท่ากับขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ให้ยกคำร้อง เท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1481/2551
ป.วิ.พ. มาตรา 229, 236
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย ชอบที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันทราบคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ประกอบมาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับฟ้องแย้งเดิมซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งสืบเนื่องมาจากคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเดิมของจำเลยนั่นเอง เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเดิม และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เช่นนี้ การที่จำเลยยังคงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่ายื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลา 1 เดือน ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ย่อมมีผลเท่ากับไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  428/2551
ป.วิ.พ. มาตรา 226, 236
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องที่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอออกหมายเรียก โดยเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1), (2) และผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1044/2550
ป.วิ.พ. มาตรา 232, 234, 236
เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่ชอบ แต่อย่างใดก็ตามเมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 15 วัน ทั้งมิได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้องจึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8277/2551
ป.วิ.พ. มาตรา 149(เดิม) วรรคท้าย, 156(เดิม) วรรคท้าย, 236 วรรคหนึ่ง

จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นสั่งว่า ยื่นอุทธรณ์เกิน 7 วัน นับแต่วันอ่านคำสั่ง ขัด ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย (เดิม) จึงไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง มีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. 236 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงฎีกาไม่ได้


ฎีกา อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์
มาตรา 234


คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2476/2554
ป.วิ.พ. มาตรา 229, 234, 236, 242
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยฉบับลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2551 ต่อมาวันที่ 4 สิงหาคม 2551 ซึ่งยังอยู่ในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยาย จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับใหม่เข้ามา โดยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฉบับนี้เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ มิใช่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 จำเลยจึงไม่ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยมาจึงไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8584/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 232, 234, 236
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวอย่างไรก็ตาม ต่อมาจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ กรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์พ้นกำหนด 15 วัน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234 จึงไม่รับวินิจฉัย ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย จึงมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต่อไปอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5706/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 229, 234, 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เนื่องจากจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 การที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยก็ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 234 บัญญัติไว้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2194/2552
ป.วิ.พ. มาตรา 226(2), 229, 234, 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งปัญหาข้อกฎหมายไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 มิได้คัดค้านคำสั่งไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ยังได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ไม่นำค่าธรรมเนียมใช้แทนมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ไม่รับอุทธรณ์ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ทั้งสามฉบับของจำเลยที่ 2 นั้น จึงเป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยที่ 2 ก็ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาตาม ป.วิ.พ. 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5387/2551
ป.วิ.พ. มาตรา 234
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลเท่านั้น แต่มิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยครบถ้วน คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  801/2551
ป.วิ.พ. มาตรา 234, 236
เดิมจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงิน และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ซึ่งจำเลยทราบคำสั่งในวันดังกล่าวแล้ว หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แต่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549 จึงเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเพราะเหตุดังกล่าว จึงมีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2580/2551
ป.วิ.พ. มาตรา 229, 234
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินและมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในคราวเดียวกัน จำเลยจะต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ด้วย ทั้งต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยจะเลือกอุทธรณ์เฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลเพียงอย่างเดียวหาได้ไม่ อุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมา และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยให้ จึงเป็นการไม่ชอบและไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5499/2550
ป.วิ.พ. มาตรา 232, 234

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 ทางแก้ของจำเลยที่ 1 คือต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามมาตรา 234 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการ กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเพื่อให้มีคำสั่งคืนอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมหรือชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้องการที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้น จึงเป็นการพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เพื่อให้กลับไปสู่การวินิจฉัยเรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงให้จำเลยที่ 1 สามารถอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 234 อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะได้รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1

ฎีกา เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเรื่อง เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 229


คำพิพากษาศาลฎีกาที่  11400/2555
ป.วิ.พ. มาตรา 229
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษา หรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้น...บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมิได้จำกัดเฉพาะการอุทธรณ์คำพิพากษาที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีประการเดียว แต่ยังหมายความรวมถึงการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาภายหลังที่ศาลได้พิพากษาโดยวินิจฉัยชี้ขาดคดีด้วย เพราะการที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไปนั้น เท่ากับให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและสืบพยานต่อไป ทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  11400/2555
ป.วิ.พ. มาตรา 229
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษา หรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้น...บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมิได้จำกัดเฉพาะการอุทธรณ์คำพิพากษาที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีประการเดียว แต่ยังหมายความรวมถึงการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาภายหลังที่ศาลได้พิพากษาโดยวินิจฉัยชี้ขาดคดีด้วย เพราะการที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไปนั้น เท่ากับให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและสืบพยานต่อไป ทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  13901/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 18, 229
บัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หาได้ใช้บังคับเฉพาะการอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีเท่านั้นไม่ และถึงแม้จะเป็นเพียงการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย แต่จำเลยมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลชั้นต้น โดยอนุญาตให้จำเลยดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไป ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ครบถ้วน จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและกรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่ศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  12104/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 18, 161, 229, 231, 247
ค่าทนายความเป็นค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระค่าทนายความจำนวน 150,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นหลักเกณฑ์เคร่งครัดที่โจทก์ผู้ยื่นฎีกาจะต้องปฏิบัติตาม เพราะมิใช่หนี้ตามคำพิพากษาในเนื้อหาแห่งคดี ที่โจทก์จะพึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 วรรคหนึ่ง

โจทก์ยื่นฎีกาโดยจงใจนำเพียงค่าขึ้นศาลตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์มาวางศาลพร้อมกับฎีกา เป็นการฝ่าฝืนต่อหลักเกณฑ์ที่บทบัญญัติมาตรา 229 กำหนดไว้ จึงเป็นการยื่นฎีกาโดยมิชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับฎีกาได้ทันที เพราะมิใช่กรณีโจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาไม่ครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นซึ่งมีหน้าที่ตรวจคำคู่ความจะต้องมีคำสั่งให้โจทก์ชำระให้ครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์ไว้แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8377/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 226, 229
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งคำร้องของจำเลยที่ 2 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรมเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18, 227, 228

การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือไม่ก็ตาม นอกจากผู้อุทธรณ์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แล้ว หากอุทธรณ์คำสั่งนั้นมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นผู้อุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229

จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยตรง เพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็จะอนุญาตให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ย่อมทำให้ศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ โดยต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไปด้วย เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7988/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 18, 229
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ซึ่งอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกยกเลิกเพิกถอนไปต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ แม้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นอุทธรณ์คำสั่งกรณีขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยก็ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนดังกล่าว เพราะหากศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามอุทธรณ์ของจำเลยก็จะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่โจทก์เป็นอันต้องถูกเพิกถอนไปทันที อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเท่ากับเป็นการอุทธรณ์ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมใช้แทน ดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์คำสั่งนั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยได้ทันทีโดยไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนเสียก่อน เพราะกรณีมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ซึ่งศาลต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนหรือต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  968/2552
ป.วิ.พ. มาตรา 229
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ที่จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จำเลยผู้อุทธรณ์จึงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติเสียก่อนไม่ การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยชำระเพียงค่าชั้นอุทธรณ์โดยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์และผู้ซื้อทรัพย์ตามคำพิพากษาด้วย จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยได้ทันทีโดยไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลเสียก่อน กรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18 ที่ศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งไม่รับคำคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2183/2551
ป.วิ.พ. มาตรา 18, 229

บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 229 หาได้ใช้บังคับเฉพาะการอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีเท่านั้นไม่ แม้จะเป็นเพียงการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย แต่จำเลยมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยอนุญาตให้จำเลยดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไป ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว และการที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งและเสียเฉพาะค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่กฎหมายบังคับให้จำเลยต้องเสียในขณะยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ เงินดังกล่าวเป็นคนละส่วนกับเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ครบถ้วนจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที และกรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่ศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์มาก็ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้

ฎีกา คำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนในเรื่อง คำสั่งระหว่างพิจารณา
มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  12053/2554
ป.วิ.พ. มาตรา 56, 226, 227, 228
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์ผู้เยาว์นี้เป็นคำสั่งในคดีที่ผู้เยาว์ขอให้แบ่งทรัพย์มรดก หาใช่เป็นอีกคดีหนึ่งไม่ และเป็นดุลยพินิจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดเป็นผู้ที่สมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์ผู้เยาว์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ทั้งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่มิใช่การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย อีกทั้งมิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 หรือมาตรา 228 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  13180/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 24, 226(2), 227, 228
ก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถาน ศาลได้สอบถามข้อเท็จจริงจากโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้และนัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนที่จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 เพราะศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 988/2547 ของศาลชั้นต้น และจำเลยก็อ้างว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นกันข้อโต้เถียงที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับคดี ต้องไปว่ากล่าวกันในคดีเดิม จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความจากการสอบถามโจทก์จำเลย มิได้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายที่พิพาทกันในคดี ดังนั้น เมื่อนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลา 14 วัน โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ แต่มิได้โต้แย้ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9330 - 9333/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 183, 226, 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องโดยขอให้กำหนดประเด็นเพิ่มว่า จำเลยทั้งสามต่อเติมผนังคอนกรีตด้านหลังตึกแถวของจำเลยทั้งสามรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยสุจริตหรือไม่ด้วย หากศาลไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มให้แก่จำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจึงขอคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่า คำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชัดแจ้งว่าจะต่อสู้ไปในทางใด จึงไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ ถือเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม จำเลยทั้งสามต้องโต้แย้งคำสั่งชี้ขาดของศาลชั้นต้นนั้นไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้จำเลยทั้งสามจะถือเอาคำร้องของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลแล้วไม่ได้เพราะเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชี้ขาด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ ถึงแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในปัญหาเรื่องนี้ให้จำเลยทั้งสาม โดยเห็นพ้องกับศาลชั้นต้นที่ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ก็เป็นการไม่ชอบ เพราะต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวมิให้อุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยทั้งสามถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8377/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 226, 229
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งคำร้องของจำเลยที่ 2 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรมเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18, 227, 228

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6017/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 226, 247
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์นั้น เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีและมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 จำเลยทั้งสองยังไม่มีสิทธิฎีกา แม้จำเลยทั้งสองจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7126/2552
ป.วิ.พ. มาตรา 223, 226
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แม้จำเลยจะได้ยื่นคำคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ข้อโต้แย้งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยเพียงกล่าวอ้างปัญหาข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  15019/2551
ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง, 226, 228(3)
ระหว่างพิจารณาภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยอ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบพร้อมทั้งยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องและไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 1 ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ส่วนคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสาม ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ มิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 มีสิทธิอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3101/2551
ป.วิ.พ. มาตรา 24, 226
ในวันนัดสืบพยาน ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากพยานโจทก์เกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิตและการชำระหนี้บัตรเครดิตของจำเลย ทนายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงดังกล่าว และรับว่าใบแจ้งหนี้ที่โจทก์อ้างส่งถูกต้องตามความเป็นจริง และไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วจึงงดสืบพยานโจทก์ แล้วพิพากษาคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความ ถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 คำสั่งศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานโจทก์จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา


กรณีที่ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7981/2551
ป.วิ.พ. มาตรา 27, 132(1), 174, 226(1)
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) ทำให้คดีเสร็จไปจากศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้วคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งใหม่ให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเช่นนี้เกิดขึ้นภายหลังคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3933/2548

จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้วินิจฉัยข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 เนื่องจากจำเลยที่ 3 มิใช่บุคคลหรือนิติบุคคล ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ขอ จึงไม่เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 และถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณา