วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

มาตราสำคัญอาญาภาค 1 (เนติฯ)

มาตราสำคัญ


***59,  **60,  *61,  *62,  63,  *67(1)(2),  **68,  69,  71, 


 **72,  *80,  *81,  *82,  *83,  **84,  **86,  87,   88,  89,

4,  5,  7,  8

มาตรา  59   เจตนา  ประมาท

                บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท

กระทำโดยเจตนา คือ  การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น

ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้  (ขาดเจตนา)

กระทำโดยประมาท คือ  กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่

การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย



มาตรา  60 การกระทำโดยพลาด  คือ

1.  เจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป

ผล  ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น

2.  แต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้น เพราะฐานะของบุคคลหรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น



มาตรา  61 สำคัญผิดในตัวบุคคล  คือ

  เจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด

ผล  ผู้นั้นจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนาหาได้ไม่



มาตรา  62     สำคัญผิดในข้อเท็จจริง

วรรคหนึ่ง

ข้อเท็จจริงถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง  แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง

ผล  ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด หรือได้รับยกเว้นโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แล้วแต่กรณี

วรรคสอง

                ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรคสามแห่งมาตรา 59  หรือความสำคัญผิดว่ามีอยู่จริงตามความในวรรคแรก ได้เกิดขึ้นด้วยความประมาทของผู้กระทำความผิด

ผล  ให้ผู้กระทำรับผิดฐานกระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า การกระทำนั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาท

วรรคสาม

                 บุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด บุคคลนั้นจะต้องได้รู้ข้อเท็จจริงนั้น



มาตรา  63  ผลธรรมดา

ถ้าผลของการกระทำความผิดใดทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผลของการกระทำความผิดนั้นต้องเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้



มาตรา  67 จำเป็น  มี  2  กรณีคือ

(1)  อยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้

(2)  เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน

กระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุ

ผล  ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ



มาตรา  68  ป้องกัน

1.  มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง

2.  จำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น

3.  พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย

4.  ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ

ผล  การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด



มาตรา  69  ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ  หรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น

1.  ในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา  67  และมาตรา  68

2.  ได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น หรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

ผล  ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้



มาตรา  71  ความผิดกระทำระหว่างสามีภริยา

1.  เป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336  วรรคแรก และมาตรา 341 ถึงมาตรา 364

2.  เป็นการกระทำที่สามีกระทำต่อภริยา หรือภริยากระทำต่อสามี

ผล  ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ

วรรคสอง

1. เป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336  วรรคแรก และมาตรา 341 ถึงมาตรา 364

2.  ถ้าเป็นการกระทำที่ผู้บุพการีกระทำต่อผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานกระทำต่อผู้บุพการี หรือพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกระทำต่อกัน

ผล  ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้



มาตรา  72  บันดาลโทสะ  คือ

1.  ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม

2.  กระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น

ผล  ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้



มาตรา  80  พยายามกระทำความผิด

1.  ลงมือกระทำความผิด

2.  กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล

ผล  ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด



มาตรา  81  พยายามกระทำความผิดซึ่งไม่บรรลุผลได้อย่างแน่แท้

1.  กระทำการโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด

2.  การกระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้  เพราะ
2.1  เหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ  หรือ
2.2  เหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ

ผล  ถือว่าผู้นั้นพยายามกระทำความผิด



มาตรา  82  ยับยั้งหรือกลับใจ

1.  พยายามกระทำความผิด

2.  ยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอด หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล

ผล  ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น

แต่ถ้าการที่ได้กระทำไปแล้วต้องตามบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นๆ



มาตรา  83  ตัวการ

1.  ความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป

2.  ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ

ผล  ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น


มาตรา  84  ผู้ใช้  

วรรคแรก

1.  ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด
1.1  ด้วยการใช้
                     1.2  บังคับ
                     1.3  ขู่เข็ญ
                     1.4  จ้าง
                     1.5  วาน หรือ
                     1.6  ยุยงส่งเสริม หรือ
                     1.7  ด้วยวิธีอื่นใด

ผล  ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด

วรรคสอง

1.  ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น

ผล  ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ

2.  ถ้าความผิดมิได้กระทำลง
2.1   เพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ
2.2   ยังไม่ได้กระทำ หรือ
2.3  เหตุอื่นใด

ผล  ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น



มาตรา  86  ผู้สนับสนุน

1.  กระทำด้วยประการใด  ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด

2.  แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม

ผล   ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด



มาตรา  87  ขอบเขตการใช้หรือการสนับสนุน

1.  ในกรณีที่มีการกระทำความผิดเพราะมีผู้ใช้ให้กระทำตามมาตรา 84อ หรือโดยมีผู้สนับสนุนตามมาตรา 86

2.  ความผิดที่เกิดขึ้น ผู้กระทำได้กระทำไปเกินขอบเขตที่ใช้ หรือ หรือเกินไปจากเจตนาของผู้สนับสนุน

ผล  ผู้ใช้ให้กระทำความผิด หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด แล้วแต่กรณี ต้องรับผิดทางอาญาเพียงสำหรับความผิดเท่าที่อยู่ในขอบเขตที่ใช้ หรืออยู่ในขอบเขตแห่งเจตนาของผู้สนับสนุนการกระทำความผิดเท่านั้น

3.  แต่ถ้าโดยพฤติการณ์อาจเล็งเห็นได้ว่า อาจเกิดการกระทำความผิดเช่นที่เกิดขึ้นนั้นได้จากการใช้ หรือการสนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำความผิด หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด แล้วแต่กรณี

ผล  ต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่เกิดขึ้นนั้น


มาตรา  88  การขัดขวางของผู้ใช้  หรือผู้สนับสนุน

1.  ถ้าความผิดที่ได้ใช้ หรือที่ได้สนับสนุนให้กระทำ

2.  กระทำถึงขั้นลงมือกระทำความผิด

3.  เนื่องจากการเข้าขัดขวางของผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ผู้กระทำได้กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล

ผล  ผู้ใช้คงรับผิดเพียงที่บัญญัติไว้ในมาตรา 84  วรรคสอง

ส่วนผู้สนับสนุนนั้นไม่ต้องรับโทษ



มาตรา  89  เหตุส่วนตัว  เหตุในลักษณะคดี

1.  ถ้ามีเหตุส่วนตัวแก่ผู้กระทำความผิดคนใด
1.1  อันควรยกเว้นโทษ
1.2  ลดโทษ หรือ
1.3  เพิ่มโทษ

ผล  จะนำเหตุนั้นไปใช้แก่ผู้กระทำความผิดคนอื่นในการกระทำความผิดนั้นด้วยไม่ได้

2.  ถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดี
2.1  อันควรยกเว้นโทษ
2.2  ลดโทษ หรือ
2.3  เพิ่มโทษ

ผล   ให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน


มาตรา  4  การกระทำผิดในราชอาณาจักร

               1.  กระทำความผิดในราชอาณาจักร 

                ผล  ต้องรับโทษตามกฎหมาย

          2.  การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย
          
                  2.1  ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด 

            ผล  ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร


มาตรา  5  การกระทำส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำในราชอาณาจักร

                 1.  ความผิดใดที่การกระทำ แม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใด
               
                 1.1  ได้กระทำในราชอาณาจักร 
          
                 1.2  ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร 
                       1.2.1  โดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือ
                       1.2.2  โดยลักษณะแห่งการกระทำ ผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักร หรือ
                       1.2.3  ย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดี 

             ผล  ให้ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร

มาตรา  7  ความผิดนอกราชอาณาจักรต่อไปนี้

             (2 ทวิ) ความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 282 และมาตรา 283

             (3)  ความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 339 และความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 340  ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง

            ผล  จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร 

มาตรา  8  กระทำความผิดนอกราชอาณาจักร

              (ก)  ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ

                  (ข)  ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ

             เป็นความผิดดังต่อไปนี้
          
              (2) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
                    (2/1)   ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์
                    (2/2)  ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง
              (3) ความผิดเกี่ยวกับเพศ 
              (4) ความผิดต่อชีวิต 
              (5) ความผิดต่อร่างกาย
              (8) ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ 
              (9) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ 
              (10) ความผิดฐานฉ้อโกง 
              (11) ความผิดฐานยักยอก 
              (12) ความผิดฐานรับของโจร

          ผล  ต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

มาตรา  9  เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร

             1.  เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยกระทำความผิด

             2.  เป็นความผิดที่บัญญัติไว้ในมาตรา 147 ถึงมาตรา 166 และมาตรา 200 ถึงมาตรา 205

             3.  ได้กระทำครวามผิดนอกราชอาณาจักร 

          ผล  ต้องรับโทษในราชอาณาจักร


มาตรา  105  ผู้ใดพยายามกระทำความผิดลหุโทษ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ


มาตรา 106   ผู้สนับสนุนในความผิดลหุโทษ  ไม่ต้องรับโทษ


ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการสอบ



ไม่มีความคิดเห็น: